top of page

การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน

 

   ความรับผิดชอบและความชาญฉลาดของผู้นำหรือผู้บริหารอย่างหนึ่งคือ “การตัดสินใจ” โดยเฉพาะการเลือกใช้เทคโนโลยีซึ่งอาจเป็นทั้งในรูปของเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีในรูปของ Hardware และ Software ต่าง ๆ เพราะการตัดสินใจย่อมมีผลกระทบ (Impacts) เกิดขึ้นเสมอทั้งทางที่เป็นคุณประโยชน์ตามจุดประสงค์ และในทางที่เกิดโทษทั้งที่อาจทราบได้ล่วงหน้าและไม่อาจทราบได้ล่วงหน้า
    การใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางสำคัญในการนำพาการศึกษาของประเทศเข้าสู่การเป็นสากล และเข้าสู่ประชาคมอาเชียนตามความคาดหวังของรัฐบาลและของสังคม การพัฒนาและใช้งบประมาณในการพัฒนาประเทศอาจเกิดจากการเลือกใช้นโยบายสำหรับการพัฒนา ถ้าองค์ประกอบสำคัญที่เป็นทั้งปัจจัยต่าง ๆ ของการพัฒนาประเทศมีความสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น องค์ประกอบด้านการศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ หลายท่านอาจจะมีคำถามที่หาคำตอบได้ยากว่า ควรพัฒนาอะไรก่อน และอะไรเป็นปัจจัยสาเหตุ และอะไรเป็นปัจจัยที่เป็นผล ดังประเด็นปัญหาพื้นฐานดังนี้
1. ควรพัฒนาเศรษฐกิจก่อน เมื่อเศรษฐกิจดีแล้วจะทำให้สังคมและการศึกษาดีตามมา
2. ควรพัฒนาสังคม ซึ่งได้แก่การเมืองและการปกครองให้ดีเสียก่อน จะทำให้เศรษฐกิจและการศึกษาดีตามมา
3. ควรพัฒนาการศึกษาให้คนมีการศึกษา มีความรู้หรือฉลาดก่อน จะทำให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ดี
อย่างไรก็ตามประเด็นพื้นฐานเหล่านี้ ได้รับการศึกษา วิเคราะห์ อย่างละเอียดอย่างลึกซึ้งมาแล้ว การแยกคิด และแยกส่วน (Atomistic) เพื่อหาคำตอบในแต่ละประเด็นคงไม่อาจได้คำตอบที่เหมาะสม เพราะองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ สำหรับการพัฒนามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จึงต้องคิดแบบองค์รวม หรือ แบบ Holistic สำหรับการเลือกพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน
   การเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เหมาะสมเป็นการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือองค์คณะที่รับผิดชอบที่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวมาแล้วเช่นกัน ได้แก่ องค์ประกอบด้านการศึกษา องค์ประกอบด้านสังคม และองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ในองค์ประกอบแต่ละด้านจะมีผลกระทบ (Impacts) และทางเลือกการตัดสินใจ (Decision Alternative) 

รณรงค์การใช้เทคโนโลยี

 

bottom of page