![2.jpg](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_7269c1fb95f14b59b26f54eed6912730.jpg/v1/fill/w_238,h_220,al_c,q_80,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_7269c1fb95f14b59b26f54eed6912730.jpg)
![6.jpg](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_51c720b23f004297bf66e918999446c2.jpg/v1/fill/w_293,h_220,al_c,q_80,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_51c720b23f004297bf66e918999446c2.jpg)
![3.png](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_59bb6cc592d44e5d9cd5382a0d97859e.png/v1/fill/w_243,h_220,al_c,q_85,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_59bb6cc592d44e5d9cd5382a0d97859e.png)
![2.jpg](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_7269c1fb95f14b59b26f54eed6912730.jpg/v1/fill/w_238,h_220,al_c,q_80,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_7269c1fb95f14b59b26f54eed6912730.jpg)
![](https://static.wixstatic.com/media/41d000_7b18cec34e3381349f438d80dd01477b.jpg/v1/fill/w_430,h_213,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/41d000_7b18cec34e3381349f438d80dd01477b.jpg)
Kewwalin
Makkasanpittaya School
![](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_25352be43f074cf88a502af79ee86a60.jpg/v1/fill/w_57,h_68,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_25352be43f074cf88a502af79ee86a60.jpg)
วงจรไฟฟ้า
. วงจรไฟฟ้าคือการนำเอาแหล่งจ่ายไฟฟ้ามาจ่ายแรงดันและกระแสให้กับโหลด โดยผ่านลวดตัวนำ และใช้สวิตช์ในการเปิดปิดวงจรเพื่อตัดหรือต่อกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโหลด ในทางปฏิบัติจะมีฟิวส์ในวงจรเพื่อป้องกันปัญหาข้อผิดพลาดที่จะเกิดกับวงจรและอุปกรณ์ เช่น โหลดเกิน หรือไฟฟ้าลัดวงจร วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นที่ควรศึกษามีอยู่ 3 ลักษณะคือ วงจรอนุกรม, วงจรขนานและวงจรผสม
วงจรอนุกรมคือ การนำโหลดมาต่อเรียงกัน โดยให้ปลายของโหลดตัวแรก ต่อกับปลายของโหลดตัวถัดไป หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง การนำโหลดตั้งแต่สองตัวมาต่อเรียงกันไปแบบอันดับ ทำให้กระแสไหลทิศทางเดียวกัน
วงจรขนานคือ การนำโหลดมาต่อขนานกันหรือต่อคร่อมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปโดยนำจุดต่อของปลายทั้งสองข้างของโหลดแต่ละตัวมาต่อร่วมกัน
วงจรผสมคือ การนำโหลดมาต่ออนุกรมและขนานร่วมกันภายในวงจรเดียวกัน
ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จะต่อจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ และใช้สวิตช์ เป็นตัวเปิดปิดการไหลของกระแสไฟฟ้า การที่จะทำให้แรงดัน และกระแสไหลผ่านโหลดได้ จะต้องมีองค์ประกอบ ของวงจรไฟฟ้าดังนี้
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายแรงดันและกระแสให้กับวงจร เช่น แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย, เครื่องจ่ายไฟ, ไดนาโม และ เจนเนอร์เรเตอร์ เป็นต้น
2. ลวดตัวนำ คือ อุปกรณ์ที่นำมาต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า จากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เพื่อจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าให้กับโหลด ลวดตัวนำที่นำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดคือ เงิน แต่เนื่องจากเงินมีราคาแพงมาก จึงนิยมใช้ทองแดง ซึ่งมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดีพอสมควรและราคาไม่แพงมากนัก นอกจากนี้ยังยังมีโลหะชนิดอื่น ๆ ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ เช่น ทองคำ, ดีบุก,เหล็ก, อลูมิเนียม, นิเกิล ฯลฯ เป็นต้น
3. โหลดหรือภาระทางไฟฟ้า คืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาต่อในวงจร เพื่อใช้งาน เช่นตู้เย็น, โทรทัศน์, พัดลม, เครื่องปรับอากาศ, เตารีด, หลอดไฟ, ตัวต้านทาน เป็นต้น
4. สวิตช์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปิดหรือเปิดวงจร ในกรณีที่เปิดวงจรก็จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับโหลด ในทางปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้า จะต้องต่อสวิตช์เข้าไปในวงจรเพื่อทำหน้าที่ตัดต่อและควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า
5. ฟิวส์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้วงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการทำงานผิดปกติของวงจร เช่น โหลดเกิน หรือ เกิดการลัดวงจร เมื่อเกิดการผิดปกติฟิวส์จะทำหน้าที่ในการเปิดวงจรที่เรียกว่า ฟิวส์ขาดนั่นเอง
![](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_49218164ef3649d5bb9252d63040b070.jpg/v1/fill/w_350,h_228,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_49218164ef3649d5bb9252d63040b070.jpg)
วงจรอนุกรม
![](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_20b089859ef14f1794d1723e4ba49d66.jpg/v1/fill/w_286,h_173,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_20b089859ef14f1794d1723e4ba49d66.jpg)
วงจรขนาน
![](https://static.wixstatic.com/media/b1f0b2_0c15d031ad6741d1a94de3c1902c90ff.jpg/v1/fill/w_322,h_217,al_c,lg_1,q_80,enc_avif,quality_auto/b1f0b2_0c15d031ad6741d1a94de3c1902c90ff.jpg)